top of page

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา (AC)

DSC_0124.jpg

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา (AC)

เวลาเปิด-ปิด : จ.-ศ. 08.30-16.30

(วันส.-อา. และวันหยุดนักขัตตฤกษ์เปิดให้เข้าชมกรณี 10 คนขึ้นไป) 

อัตราค่าเข้าชม

คนไทย : ผู้ใหญ่ 20 บาท, เด็ก 10 บาท

ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 100 บาท, เด็ก 50 บาท

(ไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป พระภิกษุ สามเณรและคนพิการ)

ประวัติที่มา

หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา  เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของคณาจารย์ในภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  บางแสน (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยบูรพา)  และเริ่มมีแนวนโยบายในการจัดตั้งหอศิลป์ ฯ ในปี พ.ศ. 2518 เพื่อให้หอศิลป์ ฯ แห่งนี้เป็นสถานที่รองรับกิจกรรมทางศิลปะด้านทัศนศิลป์ อย่างหลากหลายและทั่วถึง ให้คนในท้องถิ่นสามารถได้รับประสบการณ์  และรับรู้คุณค่าทางสุนทรียะ ทั้งแบบประเพณีและแบบร่วมสมัยได้อย่างกว้างขวาง

 ปี พ.ศ. 2542 เป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญมากของหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เพราะ คณะผู้บริหาร

หอศิลป์ ฯ ได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้หอศิลป์ ฯบรรลุวัตถุประสงค์ เนื่องจากได้ดำเนินการมาเกือบ 20 ปี (พ.ศ. 2518 – 2542)  และต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (คุณชวน  หลีกภัย)  ที่ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์จึงได้ทำหนังสือถึง ฯพณฯนายกรัฐมนตรี (คุณชวน  หลีกภัย)  อย่างเป็นทางการ

 

DSC_0119.jpg

เรื่องขอรับการสนับสนุนหอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2541  โดยประสานงานกับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และในวันที่  23 กุมภาพันธ์  2542 ณ ห้องสีม่วงตึกไทยคู่ฟ้าทำเนียบรัฐบาล 

ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (คุณชวน  หลีกภัย)  ได้แจ้งผลการเจรจากับสำนักงบประมาณ ให้บรรจุโครงการหอศิลปะ และวัฒนธรรมภาคตะวันออก  ในงบประมาณ 2543  จำนวน 70 ล้านบาท  จึงทำให้การดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ

DSC_0130.jpg

 ในวันพุธที่ 27 ธันวาคม  2549  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหอศิลปะ

และวัฒนธรรมภาคตะวันออกอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งทอดพระเนตรนิทรรศการศิลปะ วัฒนธรรมถาวร และทัศนศิลป์ร่วมสมัย

logo04.png

BUU VIRTUAL TOUR 2021

frame.png

สแกน หรือคลิกที่ QR code

 เพื่อประเมินเว็บไซต์ของเรา

bottom of page